สงวนลิขสิทธิ์ ๒๕๕๑-๒๕๖๐ โดย ศูนย์ธรรมชาติศึกษาไทย แก้ไขล่าสุด พฤษภาคม ๒๕๖๐

@ บันทึกกิจกรรม
@ บันทึกธรรมชาติและการเดินทาง
@ ห้องสมุดธรรมชาติวิทยา
@ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาต
Education Activities 2017

@ Wildlife Education #1
@ Young Naturalist
@ Amateur Nature Explorer
@ Nature Interpretation for Trainer
@ IPM in permaculture
@ Science Talent Youth Camp

ห้องเรียนธรรมชาติวิทยา
หน้าหลัก เกี่ยวกับเรา บทความ เอกสารเผยแพรผลงานของเรา โครงการวิจัย อาสาสมัคร งานบริการ
เรียนรู้ธรรมชาติเพื่อชีวิต
หน่วยปฏิบัติการธรรมชาติวิทยา
* หน่วยวิจัยป่าชุมชนดงใหญ่
* หน่วยปฏิบัติการภาคตะวันออก
* หน่วยปฏิบัติการภาคใต้
* หน่วยปฏิบัติการถ้ำและเขาหินปูน
* หน่วยปฏิบัติการภาคเหนือ
ห้องเรียนพันธุ์พืช
ธรรมชาตินานาสัตว์
ห้องเรียนนิเวศวิทยา
ห้องเรียนชุมชนท้องถิ่น

ท่องเที่ยวและเดินทาง
จองบ้านพักอุทยานแห่งชาติ
จองตํ๋วเครื่องบิน

จองตั๋วรถไฟ
จองตั๋วรถทัวส์

จิ้งเหลนบ้านสัตว์ที่บ่งบอกถึง
การมา ของเมืองและหมู่บ้าน
อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่บนเกาะ เหลือน้ำน้อยนิด ไม่พอต่อการอุปโภคและบริโภคบนเกา
เจ้าหน้าที่อุทยาน ฯ กำลังวางแปลงเก็บลักษณะการ เปลี่ยนแปลงทางกายภาพ
สุนัขบ้าน ภัยคุกคามต่อสัตว์ป่าบนเกาะ นอกจากสุนัขยังมีแมว ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นปัญหาใหญ่ สำหรับเกาะแห่งนี้ ปัจจุบันออกลูกหลานกลายเป็น สุนัขเรร่อน หลบอาศัยในป่า ออกมาหากินตามกองขยะที่มีอยู่มากมาย
บันทึกวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๓ โดย ประสิทธิ์ วงษ์พรม
อ่านเอกสารอ้างอิง การสำรวจสัตว์ป่าเพื่อการประเมินขีดความสามารถในการรองรับ

บันทึกการเดินทางย้อนหลัง
นกกระจอกใหญ่ งานแต่งงานและเหล่าแมลง
บันทึกนกจากเขาสอยดาว

บันทึกจากต้นหว้าในช่วงเวลาปิดเทอมร้อน
ขีดความสามารถรองรับด้านสัตว์ป่า
แนวทางวนเกษตรที่บ้านกุเตอร์โก

เห็ดกินได้ในป่าชุมชนดงใหญ่กับวันวาร
บันทึกจากผ้าป่าสามัคคีที่บ้านกุเตอร์โก
จากผ้าป่าสามัคคีสู่งานวิจัยในบ้านกุเตอร์โก
สำรวจและเรียนรู้โฮย่ากับผู้เชี่ยวชาญ
บันทึกจากประชุมเชิงปฏิบัติการเขาหินปูน
การสำรวจของนักสำรวจธรรมชาติรุ่นเยาว
ประชุมสรุปผลงานโครงการอนุรักษ์แม่น้ำลำคลอง

เห็ดและราขนาดใหญ่
ขีดความสามารถในการรองรับด้านสัตว์ป่า อช. เขาแหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ด กับอีกหลายมิติที่ต้องพิจารณา
เเก้าโมงเศษของวันอาทิตย์ที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๓ ทุกคนพร้อมออกเดินทางจาก ท่าเรือแหลมหญ้ามุ่งสู่เกาะกุฏี หลังจากเมื่อวานฝนตกและคลื่นลมแรง จึงทำให้เรา สำรวจตามกำหนดการที่ตั้งไว้ไม่ได้ แต่ผมก็ไม่ปล่อยให้เวลาผ่านไโดยเปล่า ประโยชน์ในวันวาน ผมทำการสำรวจสัตว์ป่าที่เส้นทางศึกษาธรรมชาติแหลมหญ้า และชายหาดแม่รำพึงจนได้ข้อมูลเป็นที่น่าพอใจ รวมทั้งเมื่อคืนก็เดินสำรวจสัตว์ป่า หากินในเวลากลางคืนด้วย ภารกิจของเช้าวันนี้จึงเหลือเพียงสำรวจสัตว์ป่าบน เกาะกุฏี เกาะที่มีชายหาดสวยงาม เงียบสงบ เป็นเกาะเล็กเพียงเกาะเดียวที่มีบ้าน พักนักท่องเที่ยวเฉพาะของอุทยาน ฯ รอบ ๆ ชายฝั่งมีแนวปะการรังที่สวยงาม แต่น่าเสียดายในช่วงเวลานี้ปะการังฟอกขาวจนเกือบหมด เรือออกเดินทางลด เลี้ยวหลบคลื่น พร้อมด้วยผู้โดยสารที่เป็นเจ้าหน้าที่อุทยาน ฯ รวม ๑๓ ชีวิต ในที่ สุดก็มาถึงเกาะกุฎีที่คุ้นเคย ผมมีโอกาสมาที่นี่ก็เฉพาะยามมาทำการสำรวจเท่านั้น แต่ให้มาเที่ยวคงไม่มีงบประมาณมาเที่ยวในเกาะอันสวยงามแห่งนี้ด้วยความเงียบ สงบ สวยงาม ราวกับชายหาดส่วนตัว ทำให้ต้องใช้ค่าใช้จ่ายในการมาเที่ยวและ พักแรมที่นี่สูงกว่าบนเกาะเสม็ด ก็นับเป็นความโชคดีของผมที่ได้มาที่นี่อย่างน้อย ก็ปีละครั้ง เมื่อถึงเกาะทุกคนลงจากเรือและทำหน้าที่ของตนเอง ประกอบด้วยกลุ่ม สำรวจพืช สัตว์ป่า และลักษณะทางกายภาพ เช่น รากโผล่ การเกิดร่องลึกของ เส้นทาง เป็นต้น
เมื่อทำการสำรวจบนเกาะกุฎีเสร็จก็ได้เวลากลับแหลมหญ้า ก่อนที่คลื่นใหญ่จะมา ไม่เช่นนั้นต้อง ติดเกาะกันที่นี่ สำหรับผมแล้วยังมีภารกิจสำรวจอีกครั้งที่เกาะเสม็ดในวันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๓ ซึ่งการเดินทางไปที่นั่นไม่ยากนัก หลายคนคงสงสัยว่าการประเมินขีดความสามารถในการรองรับ
หรือ carring capacity นั้นเพื่ออะไรกัน ในปัจจุบันการท่องเที่ยวนั้นได้กระจายไปยังทุกพื้นที่และ หลากหลายหน่วยงาน โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับธรรมชาติ หากไม่มีการศึกษาขีดความสามารถในการ รองรับปล่อยให้นักท่องเที่ยวเข้าไปเที่ยว โดยไม่คำนึงถึง ผลกระทบและการฟื้นตัวตามทำชาติ ในที่สุดธรรมชาติก็รับไม่ได้ กลายเป็นการทำลายแหล่งท่องเที่ยวนั้น เกาะเสม็ดในปัจจุบันตก อยู่ในสภาพนั้น ทั้งนักท่องเที่ยว ผู้ประกอบการ เมื่อไปอยู่ในธรรมชาติ ก็ต้องกินต้องใช้ เกิดขยะ
ของเสีย แย่งน้ำจืด บุกรุกพื้นที่เพื่อสร้างที่พัก ถนน สาธารณูปโภคต่าง ๆ ส่งผลต่อระบบ นิเวศทั้ง
พืช และสัตว์สำหรับแหลมหญ้าการท่องเที่ยวสร้างโอกาสให้กับสัตว์ป่าปรับตัวเข้าหามนุษย์มากขึ้น โดยเฉพาะลิงแสม บ่อยครั้งที่แย่งอาหารไปจากนักท่องเที่ยว สร้างความทุกข์ให้กับผู้มาเยือน ดังนั้นการศึกษาความสามารถในการรองรับจึงมีความสำคัญในการพัฒนาการท่องเที่ยวให้ยั่งยืน
ต้นเลียบ ต้นไม้ตระกูลไทรที่พบมีขนาดใหญ่มาก เหลือไม่กี่ต้นบนเกาะ เป็นแหล่งอาหารของสัตว์ป่า หลายชนิด
ลิงแสม สัตว์ดัชนีบ่งชี้การพัฒนาการท่องเที่ยว และผลกระทบต่อระบบนิเวศสัตว์ป่าบนเกาะ
เช้าวันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๓ ผมเดินทางไปสำรวจที่เสม็ดตามที่ได้นัดหมายกับเจ้าหน้าที่อุทยาน ฯ เมื่อขึ้นบนเกาะผมได้เดินทางด้วยรถมอเตอร์ไซด์ สำรวจตามจุดเดิมที่เคยสำรวจทุกปี คือ เส้นทางบนเกาะ และแหลมปะการัง สิ่งที่พบเห็นคือความเปลี่ยนแปลงในหลายจุด ถนนถูกขยายกว้างมากขึ้น และพังกลายเป็นร่องมากขึ้น ซึ่งถนนเส้นนี้มีโครงการจะทำอย่างถาวรมากขึ้นจนกลายเป็นถนนคอนกรีต แม้จะได้รับการคัดค้านก็ตาม สองปีที่ผ่านมาเคยพบนกเงือก(นกแก๊ก) แปดตัว แต่ในปีที่ผ่านมาและปีนี้ไม่พบเห็นอีกเลย เมื่อถนนเส้นใหญ่ผ่านมาตรงกลางเกาะ ก่อให้เกิดการบุกรุกเกาะรูปแบบใหม่คือ การทำทางซอยย่อย ๆ เข้าสู่ด้านหลังหาด ซึ่งมีรีสอร์ทกระจายอยู่ทุกอ่าว ถนนเล็ก ๆ นี้เองที่ทำให้ป่าถูกแยกออกจากันเป็นผืนเล็กมากขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อสัตว์ป่าโดยตรงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ที่น่ากลัวก็คือช่องถนนที่ถูกถางออกกลายเป็นอุโมงค์ลมขนาดใหญ่ ที่ทำให้ต้นไม้บนเกาะที่ลึกเข้าไปในป่ายืนต้นตาย เพราะทนแรงลมและความเค็มขอไอทะเลไม่ได้ นี่เป็นผลกระทบต่อระบบนิเวศโดยรวมของเกาะ หาดสวยงามจะมีค่าได้อย่างไร หากบนเกาะไม่มีป่า
ภาพซ้ายบน : เกาะกุฎี เกาะที่เงียบสงบและสวยงามที่สุดแห่งหนึ่งของ ภาคตะวันออก นักเดินทางที่ต้องการความเป็นส่วนตัวไฝ่ฝัน อยากมา
บน : แหลมถ้ำฤาีษี ส่วนหนึ่งของเกาะกุฎี แหล่งทำรังวางทำรังวางไข่ของนกนางนวล แกลบเล้กและนกนางนวลแกลบท้ายทอยดำ
นกนางนวลแกลบท้ายทอยดำที่พบ ทำรังบนเกาะกุฎีหลายคู่
ปริมาณขยะที่เพิ่มมากขึ้นทุกปีและขยายแหล่งพื้นที่มากขึ้น รวมทั้งไม่มีการคัดแยกอย่างเป็นระบบ
ผลกระทบจากการขยายและตัดถนน หลายแห่งดินทรุดตัวและพังทลาย
ภาพบน : ทางเข้ารีสอร์ทที่เพิ่งตัดใหม่อย่างผิดกฏหมาย ในปีที่ผ่านมา ซึ่งพบหลายแห่งจะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ ไนระยะยาว ภาพขวา : การเพิ่มขึ้นของสิ่ง ก่อสร้าง ขยะ สุนัข ล้วนกลายเป็นปัญหาที่ส่งผลต่อภาพลบของเกาะ
-